การบุญทำกุศล คือ อริยทรัพย์ โดยการเลือกของใส่บาตร และ บทสวดมนต์ตามวันเกิด

ความเชื่อ

ในเมื่อชาวโลกรู้จักแต่ทําการค้า เพื่อเพิ่มทรัพย์สมบัติไว้ให้บุตรหลาน แต่ไม่รู้จักสร้างสมบุญบารมีเพื่อให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่บุตรหลาน ทรัพย์สมบัติเป็นรูปธรรมที่มองเห็น บุญกุศลเป็นอริยทรัพย์ที่มองไม่ เห็น การเก็บทรัพย์สมบัติไว้ให้บุตรหลาน ก็ไม่แน่ว่า บุตรหลานจะ สามารถรักษาไว้ได้ ถ้าหากบุตรหลานอกตัญญ ไม่สืบทอดเจตนารมณ์ รู้แต่ใช้ รู้แต่ผลาญ ไม่ยอมประกอบอาชีพ การเก็บสมบัติไว้ให้บุตร หลานมากเกินไปกลับจะเป็นโทษ แก่บุตรหลาน ภาษิตว่า “สอนลูก หนึ่งวิชา ดีกว่าให้ทองพันตําลึงแก่ลูก”
การสร้างกุศลเพื่อให้บุตรหลานเจริญ เป็นอริยทรัพย์ที่มองไม่ เห็นผู้ที่สร้างสมบุญกุศลย่อมได้บุตรหลานที่ดี ฉลาด และกตัญญู เป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล ภาษิตกล่าวว่า “ลูกหลานมีบุญวาสนา ของเขาเอง อย่าเป็นวัวควายให้ลูกหลาน” ดังนั้นจงให้ความสําคัญ แก่อริยทรัพย์ที่เป็นนามธรรมคือบุญกุศล โดย การทําบุญสร้างกุศล พึงจําไว้ว่า ปัจจัยเงินทองหรือสิ่งของ ที่บริจาค จะต้องได้มาอย่างบริสุทธิ์ถูกต้องไม่เป็นเงินที่ได้มาโดยการ ประกอบอาชีพต้องห้าม คือ การค้าขายมนุษย์ การค้าขายสัตว์มี ชีวิต การค้าขายอาวุธ เครื่องมือประหัตประหาร การค้าขายยาพิษ การค้าขายยาเสพติด โดยการเลือกของใส่บาตร และบทสวดมนต์ตามวันเกิด

วันอาทิตย์ อาหารคาว : ประเภทไข่ ไข่ดาว ไข่เจียว ไข่ลูกเขย ต้ม แกงกะทิ อาหารหวาน : ไข่หวาน มะพร้าวอ่อน มะพร้าวแก้ว ขนมใส่กะทิ น้ํากระเจี๊ยบ น้ํามะพร้าว น้ําขิง เงาะ / ของถวายพระ : หลอดไฟ ไฟฉาย เทียน ธูป อุปกรณ์แสงสว่าง แว่นตา หมากพลู ไหว้พระ : ปางถวายเนตร (พระประจําวันเกิด)
วันจันทร์ อาหารคาว : ประเภทสัตว์ปีก สัตว์น้ํา เช่นไก่ผัดขิง ไก่ย่าง ไก่ทอด ปูผัดผงกะหรี่ ปูนึ่ง ข้าวมันไก่ ข้าวผัดปู เต้าหูทอด แกงจืดเต้าหู แกงเผ็ดเป็ดย่าง ปลาสลิดทอด อาหารหวาน : น้ําเต้าหู้ นมถั่วเหลือง น้ําอ้อย โดนัท นมสด นม กล่อง เผือก มัน ลางสาด ขนมเปี๊ยะ
วันอังคาร อาหารคาว : อาหารประเภทเส้น ขนมจีน วุ้นเส้น บะหมี่ ก๋วยเตี๋ยว เนื้อวัว ปลาช่อนตากแห้งทอด อาหารหวาน : ฝอยทอง สลิ่ม ลอดช่อง ทุเรียน ระกํา ขนุน นา สไปร์ท น้ําอัดลม ของถวายพระ : เหล็ก เครื่องมือประเภทเหล็ก กรรไกร แปรงสีฟัน ยาสีฟัน พัดลม กรรไกรตัดเล็บ ไหว้พระ : ปางไสยาสน์ (พระนอน) มีกําลังเท่ากับ ๘ ทาทาน : คนพิการทางปาก ปากแหว่ง ผู้ป่วยโรคลมชัก พฤติกรรม : ทําตัวให้กระฉับกระเฉง ตื่นตัว ขยันให้มากขึ้น ลด อารมณ์ร้อน การชิงดีชิงเด่น
วันพุธ (กลางวัน) อาหารคาว : เน้นสีเขียว-หมู แกงเขียวหวานหมู หมูปิ้ง หมูทอด ผัดพริกหมู คะน้าน้ํามันหอย อาหารหวาน : ขนมเปียกปูนเขียว น้ําฝรั่ง ชมพู่เขียว องุ่นเขียว มะม่วงเขียวเสวย ฝรั่ง ชามะนาว ของถวายพระ : สมุด กระดาษ ปากกา ดินสอ อุปกรณ์การเรียน การศึกษา

วันพุธ (กลางคืน) อาหารคาว : ของหมักดอง ผักกาดดองผัดไข่ อาหารกระป๋อง แกง ใบยอ หมูยอ แหนม ไข่เยี่ยวม้า ห่อหมก อาหารหวาน : ข้าวหมาก ขนมเปียกปูนดํา เฉาก๊วย ข้าวเหนียวดํา เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ผลไม้หัวโตๆ ทุเรียน ของถวายพระ : พัดลม เทปธรรมะ ยาแก้โรคลม ยาหอม ไหว้พระ : ปางป่าเลไลย์ (พระประจําวันเกิด) มี มูลนิธิหรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับยาเสพติด พฤติกรรม : เลิกบุหรี่ เลิกดื่มหรือลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ทุก ชนิด เลิกการพนัน เลิกทําตัวเหลวไหล เลิกเที่ยวกลางคืน เลิกยา เสพติดทุกชนิด
วันพฤหัสบดี อาหารคาว : ประเภทเถา แกงเลียง บวบผัดไข่ น้ําเต้า 6 อาหารหวาน : แตงโม แตงไทย น้ําสมุนไพร ส้ม สาลี น้ํามะตูม น้ําว่านหางจระเข้
วันศุกร์ อาหารคาว : ประเภทของหอม หวาน ข้าวหอมมะลิ ผักกาดหอม ไข่เจียว หอมใหญ่ ยําหัวหอม อาหารหวาน : ขนมหวาน หอมทุกชนิด น้ําเก๊กฮวย ผลไม้ที่มีกลิ่น หอม กล้วยหอม เค้ก ของถวายพระ : นาฬิกา โต๊ะรับแขก ดอกไม้สวยหอม ระฆัง ย่าม ไหว้พระ

วันเสาร์ อาหารคาว : ประเภทของขม ของดํามะระยัดไส้ สะเดาน้ําปลา หวาน น้ําพริกปลาทู มะเขือยาว อาหารหวาน : ลูกตาลเชื่อม กาแฟ โอเลี้ยง ของถวายพระ : ร่มสีดํา กระเบื้องมุงหลังคา ไม้กวาด สร้างห้องน้ํา ถวายวัดของถวายพระ : สบง จีวร หนังสือธรรมะ ตู้ยา โต๊ะหมู่บชา ปางสมาธิ บริจาคข้าวสาร เสื้อผ้า ผ้าห่มกันหนาว พฤติกรรม : นั่งสมาธิ สวดมนต์ ถือศีล ๕ อย่าซื้อจนเกินไป